วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน (Diary)ความรู้ Flash วันที่ 27 ส.ค. 58

โปรแกรม Flash Frofession
            โปรแกรม Flash เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย, ภาพเคลื่อนไหว (Animation), ภาพกราฟิกที่มีความคมชัด
Selection  Tool  ใช้สำหรับการทำงาน  2  ลักษณะ  คือ
            1.  ใช้คลิกเลือกซิมโบล  (Symbol)  หรือวัตถุ  (Object)
            2.  ใช้เคลื่อนย้ายซิมโบล  (Symbol)  หรือวัตถุ arrow
arrow

การทำจุดปลายทาง  : คลิกขวาที่เฟรมสุดท้ายที่ต้องการ > Insert Keyframe
การทำให้ภาพเคลื่อนไหว : คลิก Selection  Tool > modify >convert to symbol > Graphicทำอะไรผิด : คลิก Ctrl +z
การนำรูปภาพเข้า  
ขั้นที่ 1 คลิกเมนู File -> Import > Import to Stage...

la01

ขั้นที่ 2 คลิกเลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ จากแหล่งภาพ แล้วคลิก Open


ขั้นที่ 3 ภาพจะถูกนำเข้า และวางบน stage หรือ Scene ที่กำลังเปิดอยู่  



การสร้างภาพเคลื่อนไหว 
      เป็นการเคลื่อนที่ของเนื้อหาจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรือเปลี่ยนคุณสมบัติจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง เหมาะสำหรับการทำภาพเคลื่อนไหว แบบต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ขั้นที่ 1 คลิกเลือกคีย์เฟรมจุดเริ่มต้น   

   

ขั้นที่ 2 สร้างวัตถุ หรือเนื้อหาตามต้องการ



ขั้นที่ 3 คลิกขวาที่คีย์เฟรม คลิกเลือกเมนู Create Motion Tween


ขั้นที่ 4 กำหนดระยะห่างจากจุดแรกตามต้องการ เช่น ห่าง 15 เฟรม คลิกที่เฟรมที่ 15 แล้วเพิ่มคีย์เฟรม โดยกด F6 หรือคลิกเมนู Insert > Timeline > Keyframe



ขั้นที่ 5 จับวัตถุที่ stage แล้วปรับเปลี่ยนคุณลักษณะ เช่น ย้ายตำแหน่ง ย่อ-ขยาย เปลี่ยนสี หรืออื่นๆ 
ตามต้องการ



ขั้นที่ 6 ทดสอบ Movie โดยกด Ctrl+ Enter หรือ คลิกเมนู Control > Test Movie


**จะได้ไฟล์ Movie เป็น .swf








วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความรู้เกี่ยวกับสุขศึกษา : 5 กิจกรรมสนุกๆ สร้างเสริม สมาธิให้กับเด็ก

กิจกรรมสนุกๆ สำหรับเสริมสมาธิให้เด็ก

( ที่มา : http://goo.gl/d4mY7P )


      เด็กในวัยเรียนนั้นมีความซุกซน และอยากรู้อยากเห็น จึงไม่แปลกที่ลูกน้อยของคุณอาจจะไม่มีสมาธิ และไม่ค่อยอยู่นิ่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนหนังสือ หรือแม้กระทั่งการเข้าสังคมได้ ดังนั้นการฝึกให้ลูกมีสมาธิจึงเป็นหนึ่งในทักษะจำเป็นที่ลูกน้อยควรได้รับการฝึกฝนตั้งแต่ยังเด็ก เพราะการขาดสมาธินั้นอาจส่งผลให้ลูกน้อยกลายเป็นคนที่ไม่จดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำ เครียด หรืออาจสะสมจนกลายเป็นโรคสมาธิสั้นได้

       การฝึกสมาธินั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นกิจกรรมที่น่าเบื่ออย่างที่คิด คุณพ่อคุณแม่ควรหากิจกรรมสนุกๆที่ให้ลูกได้เพลิดเพลิน เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รวมไปถึงให้ลูกได้ฝึกสมาธิไปพร้อมๆ กัน โดยไม่ทำให้ลูกน้อยรู้สึกเบื่อ หรือรู้สึกว่าถูกบังคับมากจนเกินไป ดังต่อไปนี้

สร้างเสริมสมาธิด้วยการช่วยลูกทำงานศิลปะ

การทำงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น การวาดรูป หรือการปั้นดินน้ำมัน นั้นนอกจากจะช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะการใช้มือและตาให้สัมพันธ์กันแล้ว ยังช่วยให้ลูกความคิดสร้างสรรค์ พร้อมฝึกให้ลูกมีสมาธิในเวลาเดียวกัน เพราะลูกน้อยมีความจำเป็นที่จะต้องจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็น การระบายสีไม่ให้ออกนอกกรอบ หรือการใช้กรรไกรอย่างระมัดระวัง เป็นต้น ลองหากิจกรรมศิลปะหรืองานฝีมือสนุกๆทำกับลูก เช่น การเล่นเปเปอร์มาเช่ ที่ใช้อุปกรณ์เหลือใช้ที่หาได้ในบ้าน และมีขั้นตอนในการทำที่ง่ายดายดังนี้

สร้างเสริมสมาธิด้วยการให้ลูกหัดเล่นดนตรี

คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกฟังและหัดเล่นดนตรี เพราะจะช่วยให้เด็กมีอารมณ์ที่สุนทรีย์และผ่อนคลายจากความเครียด แถมยังช่วยให้เด็กมีความทรงจำที่ดี รวมไปถึงความมีวินัยในการฝึกซ้อม ซึ่งการใช้เวลาจดจ่อในการฟังเนื้อเพลง หรือการใช้เวลาตั้งใจฝึกฝนแล้ว ก็จะเป็นการสร้างเสริมสมาธิให้ลูกจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลามากขึ้น

สร้างเสริมสมาธิด้วยการอ่านหนังสือก่อนนอน

การอ่านหนังสือไม่ว่าจะเป็นการอ่านในใจ หรือการอ่านออกเสียง รวมไปถึงนิทานที่คุณพ่อคุณแม่เล่าให้ฟัง ล้วนช่วยให้เด็กจดจ่ออยู่ตัวอักษร และเรื่องเล่าที่อยู่ในเรื่อง กิจกรรมก่อนนอนอันนี้ยังช่วยให้ลูกมีสมาธิ และช่วยให้ลูกน้อยหลับสบายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

สร้างเสริมสมาธิด้วยการหาของเล่นที่ช่วยฝึกสมาธิ

ของเล่นที่ต้องอาศัยการจดจ่อ หรือใช้เวลานาน จะช่วยให้พัฒนาให้เด็กมีสมาธิไปพร้อมๆกับความสนุกสนาน โดยที่ลูกน้อยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็น จิ๊กซอว์หรือเลโก้ ที่เด็กจะต้องคอยหาชิ้นส่วนที่เข้าคู่กัน รวมไปถึงเกมที่ต้องใช้ความคิดในการเล่นอย่าง หมากกระดาน หรือ บอร์ดเกม ที่เหมาะกับเด็กโต ที่สามารถคิดวางแผนซับซ้อนได้แล้ว

สร้างเสริมสมาธิด้วยการออกกำลังกายและเล่นกีฬา

การออกกำลังกายและเล่นกีฬานั้นนอกจากจะช่วยให้สุขภาพของเด็กแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้เด็กจดจ่อกับกิจกรรมได้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้ลูกอย่าง ฟุตบอล หรือบาสเก็ตบอล ที่ผู้เล่นจะต้องคอยตามเกมตลอดเวลา แถมยังสอนให้ลูกรู้จักการเข้าสังคม รวมถึงการมีน้ำใจ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยอีกด้วย

       นอกจากกิจกรรมสนุกๆแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถปลูกฝังสมาธิให้ลูกน้อยได้อย่างง่ายดายผ่านกิจวัตรประจำวันอย่าง การจัดบ้านให้เป็นระเบียบ และมีมุมสงบให้ลูกอ่านหนังสือหรือทำการบ้าน รวมไปถึงการสอนให้ลูกมีระเบียบวินัย เช่น รู้จักเวลาเข้านอน ไปพร้อมๆกันอีกด้วย

( ที่มา : http://goo.gl/kbIVao )

 

ความรู้เกี่ยวกับกีฬาโปโลน้ำ


โปโลน้ำ


      โปโลน้ำเป็นกีฬาประเภททีมซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีความสามารถในการว่ายน้ำได้ดีเป็นพิเศษ นับเป็นกีฬาทางน้ำที่มีคุณค่ามาก และเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการสอนพลศึกษา ผู้เล่นนอกจากจะต้องมีทักษะทางว่ายน้ำที่ดีแล้วจะต้องมีความอดทน ความแข็งแรงเป็นเยี่ยม
ทักษะเบื้องต้นในการเรียนโปโลน้ำ
      นักโปโลน้ำที่ดีนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการว่ายน้ำได้ดีเป็นพื้นฐานมาก่อน จะต้องว่ายได้เร็ว ร่างกายจะต้องแข็งแรง และมีความอดทนในการว่ายน้ำได้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ต้องพัก นอกจากมีทักษะในการว่ายน้ำที่ดีแล้ว นักโปโลน้ำควรจะมีพื้นฐานในกีฬา ประเภทนี้มาก่อน เช่น บาสเก็ตบอล วอลเล่ย์บอล เบสบอล และเกมที่เกี่ยวกับลูกบอลต่างๆ
การส่งและการรับลูก
      การส่งและการรับลูกบอลในกีฬาโปโลน้ำนั้น ตามกติการให้ใช้ได้เพียงมือเดียว (ขวาหรือซ้าย ยกเว้นผู้รักษาประตู) ดังนั้นในการฝึกรับและส่งลูกบอลจะต้องฝึกให้เกิดความชำนาญ และความแม่นยำจึงจะเล่นได้ดี
ส่งลูกระยะไกลหรือลูกโด่ง Lob
การส่งลูกระยะไกลให้แม่นยำ และลูกบอลไม่หมุนนั้นอาศัยพื้นฐานในการส่งลูกบาสเกตบอล และเบสบอลเข้าประกอบกัน วิธีทำก็คือจับลูกด้วยมือที่ถนัดให้ลูกอยู่บนอุ้งมือ กางนิ้วออกให้มากที่สุดเพื่อช่วยในการบังคับลูกและมีแรงส่งมากขึ้น หันหน้าแขนไปตามทิศทางที่จะส่งลูก เวลาส่งให้เอนตัวไปข้างหลังให้มาก มือที่เหลือพุ้ยน้ำประคองตัวไว้ ในขณะเดียวกันก็รวมเอาวิธีการขว้างลูกเบสบอล และการทุ่มลูกน้ำหนักเข้าด้วยกันซึ่งจะเป็นในลักษณะผลักลูก Pushing กึ่งการขว้าง
การส่งลูกพุ่ง
เป็นการส่งลูกทั้งในระยะไกล และใกล้ มีวิธีเดียวกับการส่งลูกเบสบอล ก่อนที่จะส่งลูกนี้ผู้ส่งจะต้องถีบตัวให้สูงจากน้ำมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อขว้างลูกไปแล้วจะต้อง Follow through ทั้งไหล่ และร่างกายส่วนบนตามไปด้วย

นอกจากนั้นยังมีวิธีการส่งลูกและการขว้างลูกอีกหลายวิธีเช่น
      1. ส่งด้วยการกระตุกข้อมือ (Wrist flip)
      2. การส่งลูก Back hand
      3. การส่งลูก Roll over
      4. การส่งลูก Side arm

หน้าที่และตำแหน่งของผู้เล่น
ทีม (Teams) ทีมประกอบด้วยผู้เล่น 11 คน (ผู้เล่นจริง 7 คน ผู้เล่นสำรอง 4 คน) ตำแหน่งต่างๆของทีมมีชื่อเรียก ดังนี้คือ
      1. ผู้รักษาประตู (Goal Keeper) ใช้หมายเลข 1
      2. แบ็คซ้าย (Left Back) ใช้หมายเลข 2
      3. แบ็คขวา (Right Back) ใช้หมายเลข 3
      4. แบ็คกลาง (Half Back) ใช้หมายเลข 4
      5. หน้าซ้าย (Left Forward) ใช้หมายเลข 5
      6. หน้ากลาง (Center Forward) ใช้หมายเลข 6
      7. หน้าขวา ( Right Forward) ใช้หมายเลข 7

Goal Keeper
      ผู้เล่นในตำแหน่งนี่ ควรจะมีไหวพริบดี มีร่างกายสูง แขน-ขายาว ฝ่ามือใหญ่และควรเป็นผู้ที่ว่ายท่ากบได้ดี สามารถถีบตัวให้สูงขึ้นจากน้ำเป็นเวลานาน และควรถีบตัวได้สูงเกินกว่าครึ่งตัวของเขา เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว มีสายตาที่ว่องไว ตื่นตัวและพร้อมอยู่เสมอ ประตูเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของทีม โดยมากมักจะเป็นตำแหน่งของหัวหน้าทีม ทั้งนี้เพราะสามารถมองเห็นการเล่นได้ทั่วถึงตลอดเวลา และประตูมีสิทธิ์ที่จะจับลูกบอล 2 มือ พร้อมกันได้

Back หรือ Gard
      ผู้เล่นในตำแหน่งนี้ควรมีรูปร่างใหญ่ ว่ายน้ำได้แข็งแรง น้ำหนักตัวมากมีความสามารถเป็นเยี่ยมในการขว้างลูกบอล สามารถถีบตัวขึ้นจากผิวน้ำได้เกินครึ่งตัว สามารถรุก-รับได้อย่างรวดเร็ว มีความสามารถในการหยุด และเปลี่ยนทิศทางได้อย่างรวดเร็ว การ์ด นอกจากทำหน้าที่ป้องกันกองหน้าของฝ่ายตรงข้ามแล้ว ยังต้องทำหน้าที่ป้องกันประตูและยับยั้งการรุกของฝ่ายตรงข้าม ด้วยการส่งลูกยาวและการเลี้ยงเมื่อมีโอกาสในการเล่น

Half Back หรือ Center Back
      ผู้เล่นในตำแหน่งนี้ควรจะแข็งแรงที่สุด มีจังหวะขว้างบอลที่ดี พิจารณาดูการรุกของฝ่ายตรงข้าม และหาทางป้องกันและพยายามจัดรูปทีมให้เหมาะสมในทุกโอกาสเท่าที่จะเป็นไปได้ หาโอกาสในการเล่น Break through และ Fast Break (ลักไก่) ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสยิงประตูได้มาก นอกจากนี้ยังต้องว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในทีมมีความสามารถในการเบรคตัว และเปลี่ยนทิศทางได้อย่างรวดเร็ว จะต้องเคลื่อนไหวอยู่เสมอ พร้อมที่จะรุกและรับได้ทันที คอยควบคุม Center Forward ของฝ่ายตรงข้าม และสกัดกั้นการป้อนลูกบอลจากกองหน้าของฝ่ายตรงข้าม

Center Forward
      ผู้เล่นตำแหน่งนี้ควรจะมีร่างกายเตี้ยและว่ายน้ำได้เร็ว มีความสามารถเป็นเยี่ยมในการเลี้ยง ส่งและยิงประตูได้แม่นยำ หน้าที่ของ Center Forward คือการเร่งความเร็วขึ้นลงในระยะ 6-8 หลา จากประตูของฝ่ายตรงข้าม จนผู้เล่นฝ่ายเดียวกันสามารถป้อนลูกให้ยิงประตูได้ พยายามหาโอกาสยิงประตูอยู่เสมอ Center Forward มักจะเล่นอยู่ในแดนของฝ่ายตรงข้ามเสียมากกว่าและจะต้องจับตาดูการป้องกันของ ฝ่ายตรงข้ามด้วย

Forward
      ผู้เล่นในตำแหน่งนี้มีความสามารถรับ-ส่งลูกบอลได้ดี และเร็ว ยิงประตูได้อย่างแม่นยำ และคอยป้องกันมิให้ผู้เล่นกองหลังของฝ่ายตรงข้ามป้อนลูกไปในแดนของตน และควรจะปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างเล่น 2-4 หลา

ระเบียบการเล่นและการแข่งขัน

ตำแหน่งในการเริ่มเล่น (Starting position)
      ตำแหน่งการเริ่มต้นการเล่น ผู้แข่งขันจะต้องอยู่ในตำแหน่งห่างจากเส้นประตูของฝ่ายตนไม่เกิน 1 เมตร และระยะระหว่างผู้เล่นเองอย่างน้อยต้องไม่เกิน 1 เมตร จากเสาประตู และยอมให้ผู้เล่นอยู่ในระหว่างเสาประตูได้เพียง 2 คนเท่านั้น
การเริ่มเล่น (Start of Game)
      เริ่มเมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีด และโยนลูกบอลตรงกลางสระผู้เล่นทั้งสองฝ่าย (โดยเฉพาะ Center forward) ต้องว่ายไปให้เร็วที่สุด เพื่อครอบครองลูก รุกลงไปในแดนของฝ่ายป้องกัน ทั้งฝ่ายรุกและฝ่ายรับดำเนินการเล่นไปตามแผนที่ได้เตรียมไว้ และพยายามยิงประตูทำคะแนนให้แก่ทีมของตน ทีมที่ยิงประตูได้มากกว่าเป็นทีมที่ชนะก่อนในการเล่น
เวลา (Times)
      เวลาที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องแบ่งเป็น 4 ช่วงเวลาๆละ 5 นาที (ทั้งนี้ไม่นับเวลาที่เสียไป) ชุดแข่งขันจะต้องเปลี่ยนแดนทุกๆช่วงเวลา ในระหว่างการเปลี่ยนแดนให้พัก 2 นาที

ขนาดของสนามและอุปกรณ์โปโลน้ำ

สระน้ำ
      กว้างระหว่าง 8-20 เมตร ยาวระหว่าง 20-30 เมตร (ถ้าสระกว้าง-ยาวกว่านี้ใช้เชือกกั้นเขตให้มีขนาดความยาวตามต้องการ) น้ำลึกอย่างน้อย 90 ซม. ภายในบริเวณสนามให้กำหนดเป็นเส้นกลาง เส้น 4 เมตร ห่างจากประตู และเส้นประตูโดยใช้ลูกบอลเล็กที่มีสีที่เห็นชัดผูกไว้กับเส้นข้างสนามตาม ระยะดังกล่าวทั้งสองข้าง
ประตู
      ทำด้วยไม้หรือโลหะสี่เหลี่ยมจัตุรัสหน้ากว้าง 3x3 นิ้ว เสาประตูวัดจากด้านในห่างกัน 3 เมตร คานประตูสูงจากพื้นน้ำวัดจากด้านล่าง 90 ซม. (ถ้าน้ำในสระที่ใช้แข่งลึกตั้งแต่ 1.50 เมตร ขึ้นไป) หรือสูงจากพื้นสระ 2.40 เมตร ในกรณีที่สระตื้นกว่า 1.50 เมตร ประตูควรมีการผูกทุ่นไว้ด้านนอก เพื่อให้คานประตูลอยสูงได้ระดับกันอยู่เสมอ อาจใช้วิธีแขวนหรือปักกับพื้นสระก็ได้ ประตูต้องมีตาข่ายขึงติดไว้ด้านหลัง ความลึกของด้านหลังประตูอย่างน้อยลึก 30 ซม. ถ้าพื้นที่ไม่จำกัดควรให้ลึกประมาณ 90 ซม.

( ที่มา : http://goo.gl/444PH5 )


( ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=GNWFB9pvb4Y )

ความหมายของนวัตกรรม





นวัตกรรม หมายถึง
 นวัต - สิ่งที่ใหม่
 กรรม - สิ่งที่ทำ
       โดยรวมแล้วหมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นมาใหม่อย่างสร้างสรรค์ เช่น นวัตกรรมทางการศึกษาที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา




(ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=dznbk0PyeN0 )