วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปความรู้วันที่ 17/09/58

สรุปความรู้วันที่ 17/09/58

เพื่อน...เทคนิคการเปลี่ยนสีตัวอักษรคาราโอเกะ

อาจารย์...เทคนิคการลิ้งหากัน














อนุทินความรู้วันที่ 10/09/58


การนำเสนอเทคนิคต่างๆของโปรแกรม         FLASH ของเพื่อน

1.เทคนิคการทำหิมะตก
2.เทคนิคการทำชี้ภาพแล้วขึ้นข้อความ
3.เทคนิคการนำภาพใส่ข้อความ
4.เทคนิคการทำให้คนเดิน
5เทคนิคการทำรถวิ่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
6.เทคนิคทำตัวอักษรเคลื่อนไหว

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน (Diary)ความรู้ Flash วันที่ 27 ส.ค. 58

โปรแกรม Flash Frofession
            โปรแกรม Flash เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย, ภาพเคลื่อนไหว (Animation), ภาพกราฟิกที่มีความคมชัด
Selection  Tool  ใช้สำหรับการทำงาน  2  ลักษณะ  คือ
            1.  ใช้คลิกเลือกซิมโบล  (Symbol)  หรือวัตถุ  (Object)
            2.  ใช้เคลื่อนย้ายซิมโบล  (Symbol)  หรือวัตถุ arrow
arrow

การทำจุดปลายทาง  : คลิกขวาที่เฟรมสุดท้ายที่ต้องการ > Insert Keyframe
การทำให้ภาพเคลื่อนไหว : คลิก Selection  Tool > modify >convert to symbol > Graphicทำอะไรผิด : คลิก Ctrl +z
การนำรูปภาพเข้า  
ขั้นที่ 1 คลิกเมนู File -> Import > Import to Stage...

la01

ขั้นที่ 2 คลิกเลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ จากแหล่งภาพ แล้วคลิก Open


ขั้นที่ 3 ภาพจะถูกนำเข้า และวางบน stage หรือ Scene ที่กำลังเปิดอยู่  



การสร้างภาพเคลื่อนไหว 
      เป็นการเคลื่อนที่ของเนื้อหาจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรือเปลี่ยนคุณสมบัติจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง เหมาะสำหรับการทำภาพเคลื่อนไหว แบบต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ขั้นที่ 1 คลิกเลือกคีย์เฟรมจุดเริ่มต้น   

   

ขั้นที่ 2 สร้างวัตถุ หรือเนื้อหาตามต้องการ



ขั้นที่ 3 คลิกขวาที่คีย์เฟรม คลิกเลือกเมนู Create Motion Tween


ขั้นที่ 4 กำหนดระยะห่างจากจุดแรกตามต้องการ เช่น ห่าง 15 เฟรม คลิกที่เฟรมที่ 15 แล้วเพิ่มคีย์เฟรม โดยกด F6 หรือคลิกเมนู Insert > Timeline > Keyframe



ขั้นที่ 5 จับวัตถุที่ stage แล้วปรับเปลี่ยนคุณลักษณะ เช่น ย้ายตำแหน่ง ย่อ-ขยาย เปลี่ยนสี หรืออื่นๆ 
ตามต้องการ



ขั้นที่ 6 ทดสอบ Movie โดยกด Ctrl+ Enter หรือ คลิกเมนู Control > Test Movie


**จะได้ไฟล์ Movie เป็น .swf








วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความรู้เกี่ยวกับสุขศึกษา : 5 กิจกรรมสนุกๆ สร้างเสริม สมาธิให้กับเด็ก

กิจกรรมสนุกๆ สำหรับเสริมสมาธิให้เด็ก

( ที่มา : http://goo.gl/d4mY7P )


      เด็กในวัยเรียนนั้นมีความซุกซน และอยากรู้อยากเห็น จึงไม่แปลกที่ลูกน้อยของคุณอาจจะไม่มีสมาธิ และไม่ค่อยอยู่นิ่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนหนังสือ หรือแม้กระทั่งการเข้าสังคมได้ ดังนั้นการฝึกให้ลูกมีสมาธิจึงเป็นหนึ่งในทักษะจำเป็นที่ลูกน้อยควรได้รับการฝึกฝนตั้งแต่ยังเด็ก เพราะการขาดสมาธินั้นอาจส่งผลให้ลูกน้อยกลายเป็นคนที่ไม่จดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำ เครียด หรืออาจสะสมจนกลายเป็นโรคสมาธิสั้นได้

       การฝึกสมาธินั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นกิจกรรมที่น่าเบื่ออย่างที่คิด คุณพ่อคุณแม่ควรหากิจกรรมสนุกๆที่ให้ลูกได้เพลิดเพลิน เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รวมไปถึงให้ลูกได้ฝึกสมาธิไปพร้อมๆ กัน โดยไม่ทำให้ลูกน้อยรู้สึกเบื่อ หรือรู้สึกว่าถูกบังคับมากจนเกินไป ดังต่อไปนี้

สร้างเสริมสมาธิด้วยการช่วยลูกทำงานศิลปะ

การทำงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น การวาดรูป หรือการปั้นดินน้ำมัน นั้นนอกจากจะช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะการใช้มือและตาให้สัมพันธ์กันแล้ว ยังช่วยให้ลูกความคิดสร้างสรรค์ พร้อมฝึกให้ลูกมีสมาธิในเวลาเดียวกัน เพราะลูกน้อยมีความจำเป็นที่จะต้องจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็น การระบายสีไม่ให้ออกนอกกรอบ หรือการใช้กรรไกรอย่างระมัดระวัง เป็นต้น ลองหากิจกรรมศิลปะหรืองานฝีมือสนุกๆทำกับลูก เช่น การเล่นเปเปอร์มาเช่ ที่ใช้อุปกรณ์เหลือใช้ที่หาได้ในบ้าน และมีขั้นตอนในการทำที่ง่ายดายดังนี้

สร้างเสริมสมาธิด้วยการให้ลูกหัดเล่นดนตรี

คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกฟังและหัดเล่นดนตรี เพราะจะช่วยให้เด็กมีอารมณ์ที่สุนทรีย์และผ่อนคลายจากความเครียด แถมยังช่วยให้เด็กมีความทรงจำที่ดี รวมไปถึงความมีวินัยในการฝึกซ้อม ซึ่งการใช้เวลาจดจ่อในการฟังเนื้อเพลง หรือการใช้เวลาตั้งใจฝึกฝนแล้ว ก็จะเป็นการสร้างเสริมสมาธิให้ลูกจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลามากขึ้น

สร้างเสริมสมาธิด้วยการอ่านหนังสือก่อนนอน

การอ่านหนังสือไม่ว่าจะเป็นการอ่านในใจ หรือการอ่านออกเสียง รวมไปถึงนิทานที่คุณพ่อคุณแม่เล่าให้ฟัง ล้วนช่วยให้เด็กจดจ่ออยู่ตัวอักษร และเรื่องเล่าที่อยู่ในเรื่อง กิจกรรมก่อนนอนอันนี้ยังช่วยให้ลูกมีสมาธิ และช่วยให้ลูกน้อยหลับสบายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

สร้างเสริมสมาธิด้วยการหาของเล่นที่ช่วยฝึกสมาธิ

ของเล่นที่ต้องอาศัยการจดจ่อ หรือใช้เวลานาน จะช่วยให้พัฒนาให้เด็กมีสมาธิไปพร้อมๆกับความสนุกสนาน โดยที่ลูกน้อยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็น จิ๊กซอว์หรือเลโก้ ที่เด็กจะต้องคอยหาชิ้นส่วนที่เข้าคู่กัน รวมไปถึงเกมที่ต้องใช้ความคิดในการเล่นอย่าง หมากกระดาน หรือ บอร์ดเกม ที่เหมาะกับเด็กโต ที่สามารถคิดวางแผนซับซ้อนได้แล้ว

สร้างเสริมสมาธิด้วยการออกกำลังกายและเล่นกีฬา

การออกกำลังกายและเล่นกีฬานั้นนอกจากจะช่วยให้สุขภาพของเด็กแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้เด็กจดจ่อกับกิจกรรมได้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้ลูกอย่าง ฟุตบอล หรือบาสเก็ตบอล ที่ผู้เล่นจะต้องคอยตามเกมตลอดเวลา แถมยังสอนให้ลูกรู้จักการเข้าสังคม รวมถึงการมีน้ำใจ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยอีกด้วย

       นอกจากกิจกรรมสนุกๆแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถปลูกฝังสมาธิให้ลูกน้อยได้อย่างง่ายดายผ่านกิจวัตรประจำวันอย่าง การจัดบ้านให้เป็นระเบียบ และมีมุมสงบให้ลูกอ่านหนังสือหรือทำการบ้าน รวมไปถึงการสอนให้ลูกมีระเบียบวินัย เช่น รู้จักเวลาเข้านอน ไปพร้อมๆกันอีกด้วย

( ที่มา : http://goo.gl/kbIVao )

 

ความรู้เกี่ยวกับกีฬาโปโลน้ำ


โปโลน้ำ


      โปโลน้ำเป็นกีฬาประเภททีมซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีความสามารถในการว่ายน้ำได้ดีเป็นพิเศษ นับเป็นกีฬาทางน้ำที่มีคุณค่ามาก และเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการสอนพลศึกษา ผู้เล่นนอกจากจะต้องมีทักษะทางว่ายน้ำที่ดีแล้วจะต้องมีความอดทน ความแข็งแรงเป็นเยี่ยม
ทักษะเบื้องต้นในการเรียนโปโลน้ำ
      นักโปโลน้ำที่ดีนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการว่ายน้ำได้ดีเป็นพื้นฐานมาก่อน จะต้องว่ายได้เร็ว ร่างกายจะต้องแข็งแรง และมีความอดทนในการว่ายน้ำได้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ต้องพัก นอกจากมีทักษะในการว่ายน้ำที่ดีแล้ว นักโปโลน้ำควรจะมีพื้นฐานในกีฬา ประเภทนี้มาก่อน เช่น บาสเก็ตบอล วอลเล่ย์บอล เบสบอล และเกมที่เกี่ยวกับลูกบอลต่างๆ
การส่งและการรับลูก
      การส่งและการรับลูกบอลในกีฬาโปโลน้ำนั้น ตามกติการให้ใช้ได้เพียงมือเดียว (ขวาหรือซ้าย ยกเว้นผู้รักษาประตู) ดังนั้นในการฝึกรับและส่งลูกบอลจะต้องฝึกให้เกิดความชำนาญ และความแม่นยำจึงจะเล่นได้ดี
ส่งลูกระยะไกลหรือลูกโด่ง Lob
การส่งลูกระยะไกลให้แม่นยำ และลูกบอลไม่หมุนนั้นอาศัยพื้นฐานในการส่งลูกบาสเกตบอล และเบสบอลเข้าประกอบกัน วิธีทำก็คือจับลูกด้วยมือที่ถนัดให้ลูกอยู่บนอุ้งมือ กางนิ้วออกให้มากที่สุดเพื่อช่วยในการบังคับลูกและมีแรงส่งมากขึ้น หันหน้าแขนไปตามทิศทางที่จะส่งลูก เวลาส่งให้เอนตัวไปข้างหลังให้มาก มือที่เหลือพุ้ยน้ำประคองตัวไว้ ในขณะเดียวกันก็รวมเอาวิธีการขว้างลูกเบสบอล และการทุ่มลูกน้ำหนักเข้าด้วยกันซึ่งจะเป็นในลักษณะผลักลูก Pushing กึ่งการขว้าง
การส่งลูกพุ่ง
เป็นการส่งลูกทั้งในระยะไกล และใกล้ มีวิธีเดียวกับการส่งลูกเบสบอล ก่อนที่จะส่งลูกนี้ผู้ส่งจะต้องถีบตัวให้สูงจากน้ำมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อขว้างลูกไปแล้วจะต้อง Follow through ทั้งไหล่ และร่างกายส่วนบนตามไปด้วย

นอกจากนั้นยังมีวิธีการส่งลูกและการขว้างลูกอีกหลายวิธีเช่น
      1. ส่งด้วยการกระตุกข้อมือ (Wrist flip)
      2. การส่งลูก Back hand
      3. การส่งลูก Roll over
      4. การส่งลูก Side arm

หน้าที่และตำแหน่งของผู้เล่น
ทีม (Teams) ทีมประกอบด้วยผู้เล่น 11 คน (ผู้เล่นจริง 7 คน ผู้เล่นสำรอง 4 คน) ตำแหน่งต่างๆของทีมมีชื่อเรียก ดังนี้คือ
      1. ผู้รักษาประตู (Goal Keeper) ใช้หมายเลข 1
      2. แบ็คซ้าย (Left Back) ใช้หมายเลข 2
      3. แบ็คขวา (Right Back) ใช้หมายเลข 3
      4. แบ็คกลาง (Half Back) ใช้หมายเลข 4
      5. หน้าซ้าย (Left Forward) ใช้หมายเลข 5
      6. หน้ากลาง (Center Forward) ใช้หมายเลข 6
      7. หน้าขวา ( Right Forward) ใช้หมายเลข 7

Goal Keeper
      ผู้เล่นในตำแหน่งนี่ ควรจะมีไหวพริบดี มีร่างกายสูง แขน-ขายาว ฝ่ามือใหญ่และควรเป็นผู้ที่ว่ายท่ากบได้ดี สามารถถีบตัวให้สูงขึ้นจากน้ำเป็นเวลานาน และควรถีบตัวได้สูงเกินกว่าครึ่งตัวของเขา เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว มีสายตาที่ว่องไว ตื่นตัวและพร้อมอยู่เสมอ ประตูเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของทีม โดยมากมักจะเป็นตำแหน่งของหัวหน้าทีม ทั้งนี้เพราะสามารถมองเห็นการเล่นได้ทั่วถึงตลอดเวลา และประตูมีสิทธิ์ที่จะจับลูกบอล 2 มือ พร้อมกันได้

Back หรือ Gard
      ผู้เล่นในตำแหน่งนี้ควรมีรูปร่างใหญ่ ว่ายน้ำได้แข็งแรง น้ำหนักตัวมากมีความสามารถเป็นเยี่ยมในการขว้างลูกบอล สามารถถีบตัวขึ้นจากผิวน้ำได้เกินครึ่งตัว สามารถรุก-รับได้อย่างรวดเร็ว มีความสามารถในการหยุด และเปลี่ยนทิศทางได้อย่างรวดเร็ว การ์ด นอกจากทำหน้าที่ป้องกันกองหน้าของฝ่ายตรงข้ามแล้ว ยังต้องทำหน้าที่ป้องกันประตูและยับยั้งการรุกของฝ่ายตรงข้าม ด้วยการส่งลูกยาวและการเลี้ยงเมื่อมีโอกาสในการเล่น

Half Back หรือ Center Back
      ผู้เล่นในตำแหน่งนี้ควรจะแข็งแรงที่สุด มีจังหวะขว้างบอลที่ดี พิจารณาดูการรุกของฝ่ายตรงข้าม และหาทางป้องกันและพยายามจัดรูปทีมให้เหมาะสมในทุกโอกาสเท่าที่จะเป็นไปได้ หาโอกาสในการเล่น Break through และ Fast Break (ลักไก่) ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสยิงประตูได้มาก นอกจากนี้ยังต้องว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในทีมมีความสามารถในการเบรคตัว และเปลี่ยนทิศทางได้อย่างรวดเร็ว จะต้องเคลื่อนไหวอยู่เสมอ พร้อมที่จะรุกและรับได้ทันที คอยควบคุม Center Forward ของฝ่ายตรงข้าม และสกัดกั้นการป้อนลูกบอลจากกองหน้าของฝ่ายตรงข้าม

Center Forward
      ผู้เล่นตำแหน่งนี้ควรจะมีร่างกายเตี้ยและว่ายน้ำได้เร็ว มีความสามารถเป็นเยี่ยมในการเลี้ยง ส่งและยิงประตูได้แม่นยำ หน้าที่ของ Center Forward คือการเร่งความเร็วขึ้นลงในระยะ 6-8 หลา จากประตูของฝ่ายตรงข้าม จนผู้เล่นฝ่ายเดียวกันสามารถป้อนลูกให้ยิงประตูได้ พยายามหาโอกาสยิงประตูอยู่เสมอ Center Forward มักจะเล่นอยู่ในแดนของฝ่ายตรงข้ามเสียมากกว่าและจะต้องจับตาดูการป้องกันของ ฝ่ายตรงข้ามด้วย

Forward
      ผู้เล่นในตำแหน่งนี้มีความสามารถรับ-ส่งลูกบอลได้ดี และเร็ว ยิงประตูได้อย่างแม่นยำ และคอยป้องกันมิให้ผู้เล่นกองหลังของฝ่ายตรงข้ามป้อนลูกไปในแดนของตน และควรจะปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างเล่น 2-4 หลา

ระเบียบการเล่นและการแข่งขัน

ตำแหน่งในการเริ่มเล่น (Starting position)
      ตำแหน่งการเริ่มต้นการเล่น ผู้แข่งขันจะต้องอยู่ในตำแหน่งห่างจากเส้นประตูของฝ่ายตนไม่เกิน 1 เมตร และระยะระหว่างผู้เล่นเองอย่างน้อยต้องไม่เกิน 1 เมตร จากเสาประตู และยอมให้ผู้เล่นอยู่ในระหว่างเสาประตูได้เพียง 2 คนเท่านั้น
การเริ่มเล่น (Start of Game)
      เริ่มเมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีด และโยนลูกบอลตรงกลางสระผู้เล่นทั้งสองฝ่าย (โดยเฉพาะ Center forward) ต้องว่ายไปให้เร็วที่สุด เพื่อครอบครองลูก รุกลงไปในแดนของฝ่ายป้องกัน ทั้งฝ่ายรุกและฝ่ายรับดำเนินการเล่นไปตามแผนที่ได้เตรียมไว้ และพยายามยิงประตูทำคะแนนให้แก่ทีมของตน ทีมที่ยิงประตูได้มากกว่าเป็นทีมที่ชนะก่อนในการเล่น
เวลา (Times)
      เวลาที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องแบ่งเป็น 4 ช่วงเวลาๆละ 5 นาที (ทั้งนี้ไม่นับเวลาที่เสียไป) ชุดแข่งขันจะต้องเปลี่ยนแดนทุกๆช่วงเวลา ในระหว่างการเปลี่ยนแดนให้พัก 2 นาที

ขนาดของสนามและอุปกรณ์โปโลน้ำ

สระน้ำ
      กว้างระหว่าง 8-20 เมตร ยาวระหว่าง 20-30 เมตร (ถ้าสระกว้าง-ยาวกว่านี้ใช้เชือกกั้นเขตให้มีขนาดความยาวตามต้องการ) น้ำลึกอย่างน้อย 90 ซม. ภายในบริเวณสนามให้กำหนดเป็นเส้นกลาง เส้น 4 เมตร ห่างจากประตู และเส้นประตูโดยใช้ลูกบอลเล็กที่มีสีที่เห็นชัดผูกไว้กับเส้นข้างสนามตาม ระยะดังกล่าวทั้งสองข้าง
ประตู
      ทำด้วยไม้หรือโลหะสี่เหลี่ยมจัตุรัสหน้ากว้าง 3x3 นิ้ว เสาประตูวัดจากด้านในห่างกัน 3 เมตร คานประตูสูงจากพื้นน้ำวัดจากด้านล่าง 90 ซม. (ถ้าน้ำในสระที่ใช้แข่งลึกตั้งแต่ 1.50 เมตร ขึ้นไป) หรือสูงจากพื้นสระ 2.40 เมตร ในกรณีที่สระตื้นกว่า 1.50 เมตร ประตูควรมีการผูกทุ่นไว้ด้านนอก เพื่อให้คานประตูลอยสูงได้ระดับกันอยู่เสมอ อาจใช้วิธีแขวนหรือปักกับพื้นสระก็ได้ ประตูต้องมีตาข่ายขึงติดไว้ด้านหลัง ความลึกของด้านหลังประตูอย่างน้อยลึก 30 ซม. ถ้าพื้นที่ไม่จำกัดควรให้ลึกประมาณ 90 ซม.

( ที่มา : http://goo.gl/444PH5 )


( ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=GNWFB9pvb4Y )

ความหมายของนวัตกรรม





นวัตกรรม หมายถึง
 นวัต - สิ่งที่ใหม่
 กรรม - สิ่งที่ทำ
       โดยรวมแล้วหมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นมาใหม่อย่างสร้างสรรค์ เช่น นวัตกรรมทางการศึกษาที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา




(ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=dznbk0PyeN0 )